JackThe MarketScan <themarketscan@gmail.com>
22:19 (30 minutes ago)
to me, crm
รัฐบาล เร่งดำเนินโครงการในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซีโดยมีหมุดหมายใช้เป็นเคลื่อนยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐประเทศ เพราะนอกจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)
โครงการพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออกและสนามบินอู่ตะเภา โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 โครงการท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 การกำหนดให้มีเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ และเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษแล้วนั้น
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี ยังคงเดินหน้าโครงการศูนย์ธุรกิจ อีอีซี และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ หรือที่เรียกว่า “เมืองหลวงของอีอีซี”
ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการพัฒนาเขตพิเศษภาคตะวันออก เพื่อรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (New S-Curve Target Industries) บนพื้นที่รวม 14,619 ไร่ ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี มูลค่าการลงทุนประมาณที่ 1.34 ล้านล้านบาท สามารถช่วยกระตุ้นการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ภายใน 10 ปี และสร้างพลังทางเศรษฐกิจให้ประเทศ
ชงครม.เคาะศึกษาประมูล PPP
ขณะความคืบหน้า เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2568 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 4/2566 เรื่อง การจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ โครงการศูนย์ธุรกิจอีอีซีและเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ (Future Livable Smart City: EECiti)
ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เสนอ ให้ สกพอ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นพิจารณาก่อนประกาศเป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษและประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
ล่าสุดนายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ความคืบหน้าโครงการฯ ปัจจุบันอีอีซีอยู่ระหว่างจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษารูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) ในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคโครงสร้างพื้นฐานบนพื้นที่เมืองใหม่อัจฉริยะ 14,619 ไร่ คาดใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน
ทั้งนี้ตามแผนหากศึกษาแล้วเสร็จจะเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในเดือนก.ค.นี้ และเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน (Market Sounding) ภายในปลายปี 2568
หลังจากนั้นจะรวบรวมความคิดเห็นเพื่อจัดทำเป็นโมเดลธุรกิจ (Business Model) ก่อนกลับมาเสนอต่อกพอ.และครม.เห็นชอบรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) ก่อนประกาศเชิญชวนให้เอกชนร่วมประมูลภายในต้นปี 2569 โดยจะเริ่มก่อสร้างภายในปี 2570 ระยะเวลาก่อสร้างราว 2-3 ปี คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี 2573
“ส่วนวงเงินลงทุน PPP ระบบสาธารณูปโภคบนพื้นที่มืองใหม่อีอีซีนั้นยังไม่ได้ประเมิน เพราะรอผลการศึกษารูปแบบการร่วมลงทุน PPP ก่อนว่าเป็นอย่างไร ซึ่งแนวโน้มการประมูลจะใช้รูปแบบ PPP Net Cost สัมปทาน 50 ปี โดยให้สัญญาสัมปทานเอกชนเพียงรายเดียวเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อให้เอกชนสามารถดำเนินการระบบสาธารณูปโภคได้พร้อมกันทั้งโครงการ” นายจุฬา กล่าว
ส่งจาก iPhone ของฉัน